วิธีปิดการแจ้งเตือน (Notifications) ใน Windows 10 และทำความรู้จักกับฟีเจอร์ Focus Assist
หลายคนกำลังประสบปัญหากับความน่ารำคาญของการแจ้งเตือน (Notifications) ใน Windows 10 ที่ไม่ว่าจะมีเมลเข้า อัปเดต เชื่อมต่อ หรือสารพัดการแจ้งเตือนที่เด้งขึ้นมาไม่หยุดไม่หย่อน วันนี้เราจะมาชมวิธีปิดการแจ้งเตือนใน Windows 10 กันครับ
วิธีปิดการแจ้งเตือน (Notifications) ใน Windows 10 และทำความรู้จักกับฟีเจอร์ Focus Assist
หมายเหตุ: การปิดการแจ้งเตือน (Notifications) ใน Windows 10 นั้น อาจทำให้คุณพลาดข่าวสาร การอัปเดต การป้องกัน และความช่วยเหลือจากระบบ โปรดระมัดระวังในการใช้งาน
วิธีปิดการแจ้งเตือน (Notifications)
1. คลิกเมนู Start หรือกดปุ่ม Windows > จากนั้นเลือกไปที่ Settings
2. ไปที่ System > Notifications & actions
3. เลื่อนลงมาด้านล่างในส่วน Notifications ที่จะแสดงปุ่มเปิด-ปิด พร้อมหัวข้อย่อยต่างๆ ดังนี้
- Show notifications on the lock screen – แสดงการแจ้งเตือนในหน้า Lock Screen หรือไม่?
- Show reminders and incoming VoIP calls on the lock screen – แสดงการเตือนต่างๆ และการโทรเข้าในหน้า Lock Screen หรือไม่?
- Show me the Windows welcome experience after updates and occasionally when I sign in to highlight what’s new and suggested – แสดงการแจ้งเตือนข้อมูลต่างๆ หลังจากอัปเดต เมื่อเข้าสู่หน้า Windows หรือไม่?
- Get tips, tricks, and suggestions as you use Windows – แสดงการแจ้งเตือนเคล็ดลับหรือข้อแนะนำต่างๆ หรือไม่?
- Get notifications from apps and other senders – แสดงการแจ้งเตือนจากแอปหรือโปรแกรมอื่นๆ เมื่อมีการรับ-ส่งข้อมูลหรือไม่?
4. คุณสามารถเลือกเปิด-ปิดการแจ้งเตือนทีละแอปหรือเฉพาะโปรแกรมแต่ละอันได้ในหัวข้อ Get notifications from apps and other senders
สำหรับใครที่ไม่อยากปิดการแจ้งเตือนไปโดยทั้งหมด เราก็มีวิธีที่ปิดการแจ้งเตือนชั่วคราวเฉพาะวันหรือช่วงเวลาที่กำหนดได้ โดยจะใช้ฟีเจอร์ที่มีมาใน Windows 10 ที่มีชื่อว่า “Focus Assist”
Focus Assist
ฟีเจอร์ที่ช่วยสร้างพื้นที่ความเป็นส่วนตัวของคุณกับ Windows ตามช่วงเวลาที่กำหนด (คล้ายกับโหมดห้ามรบกวน (Do Not Disturb) ของ Apple) โดยเมื่อคุณเปิดฟีเจอร์นี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่มีการแจ้งเตือนหรือการรบกวนใดๆ ให้กับคุณ
วิธีเปิดการใช้งาน Focus Assist
1. คลิกที่ปุ่ม Notifications ด้านมุมล่างขวา > เลือกไปที่ Focus Assist หรืออาจใช้วิธีกดปุ่มคีย์ลัดบนคีย์บอร์ดด้วยปุ่ม Windows+A
2. คลิกเปิดการใช้งาน Focus Assist (ให้เป็นสีฟ้า) จะซ่อนการแจ้งเตือนทั้งหมดตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนจนถึง 6 โมงเช้าโดยอัตโนมัติ สามารถปรับตั้งค่าได้โดยการคลิกขวา > เลือก Go to Settings
3. สามารถปรับตั้งเวลาใหม่และกำหนดหัวข้อการปิดการแจ้งเตือนต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ
ใช้การแจ้งเตือนใน iPhone, iPad และ iPod touch
การแจ้งเตือนใน iOS 12 และใหม่กว่า และ iPadOS ทำให้การดูและการจัดการการแจ้งเตือนหลายๆ รายการพร้อมกันง่ายยิ่งขึ้น และช่วยลดการขัดจังหวะตลอดวัน
เปิดจากหน้าจอล็อค
คุณสามารถดูการแจ้งเตือนล่าสุดบนหน้าจอล็อคด้วยการหยิบ iPhone ของคุณขึ้นมาหรือปลุก iPad ของคุณ คุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้จากหน้าจอล็อคเช่นกัน
- แตะการแจ้งเตือนรายการเดียวเพื่อเปิดแอพที่ส่งการแจ้งเตือนนั้น
- แตะกลุ่มการแจ้งเตือนเพื่อดูการแจ้งเตือนล่าสุดทั้งหมดจากแอพนั้น
- ปัดการแจ้งเตือนไปทางซ้ายเพื่อจัดการการเตือนสำหรับแอพนั้น ดูการแจ้งเตือน หรือล้างการแจ้งเตือน
- แตะการแจ้งเตือน* ค้างไว้เพื่อดูการแจ้งเตือนและใช้การทำงานด่วนหากแอพมี
หากต้องการแสดงคอนเทนต์ของการแจ้งเตือนบนหน้าจอล็อคโดยไม่ปลดล็อคอุปกรณ์ของคุณ ให้ไปที่การตั้งค่า > การแจ้งเตือน > แสดงตัวอย่าง แล้วเลือกตลอดเวลา
* บน iPhone SE (รุ่นที่ 2) ให้ปัดการแจ้งเตือนไปทางซ้าย จากนั้นแตะดูเพื่อดูการแจ้งเตือน แล้วใช้การทำงานด่วนที่แอพรองรับ
เปิดจากศูนย์การแจ้งเตือน
ศูนย์การแจ้งเตือนแสดงประวัติการแจ้งเตือนของคุณซึ่งจะทำให้คุณสามารถเลื่อนกลับมาดูการแจ้งเตือนที่พลาดไปได้ วิธีดูการเตือนจากศูนย์การแจ้งเตือนมีสองวิธี ดังนี้
- จากหน้าจอล็อค ให้ปัดขึ้นจากกึ่งกลางของหน้าจอ
- จากหน้าจออื่นๆ ให้ปัดลงจากกึ่งกลางด้านบนสุดของหน้าจอ
หากต้องการล้างประวัติการแจ้งเตือนของคุณ ให้แตะปุ่ม X ค้างไว้ แล้วแตะล้างการแจ้งเตือนทั้งหมด หรือแตะปุ่ม X แล้วแตะล้าง
ESP8266 / ESP8285 กับการส่งการแจ้งเตือนเข้า LINE
ส่วนประกอบส่วนหนึ่งของ IoT ก็จะเป็นเรื่องของความปลอยภัยส่วนบุคคล แม้เราจะมีกล้องวงจรปิดซึ่งเป็นอุปกรณ์ IoT อยู่แล้ว การกล้องวงจรปิดทำหน้าที่ได้แค่บันทึกภาพเท่านั้น ไม่สามารถส่งการแจ้งเตือนใด ๆ ให้เราสามารถรับรู้สถานะการได้ หรือหากใช้กล้องวงจรปิดที่มีอยู่ในท้องตลาด และสามารถแจ้งเตือนได้ ก็จำเป็นจะต้องลองแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือเพิ่มเติม
ในบทความนี้จะเป็นการนำ ESP8266 / ESP8285 มาทำการเชื่อมต่อ WiFi และส่งข้อมูลไปที่ Line ของผู้ใช้ ผ่านทาง API ที่ทาง LINE ได้จัดทำไว้ครับ สามารถนำไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในการส่งข้อมูลผ่าน API เข้า LINE และสามารถผูพื้นฐานไปสู่การทำ LINE Bot เพื่อเป็นผู้ช่วยควบคุมสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้านได้ผ่านแอพพลิเคชั่น Line
รู้จักกับ LINE Notify
LINE Notify เป็นบริการของทาง LINE เป็นบริการและช่องทางที่ถูกต้อง ท่านสามารถส่งความ การแจ้งเตือนต่าง ๆ ไปยังแอคเค้าของท่านเองได้ ผ่านการใช้ API ซึ่งเรียกผ่าน HTTP POST แบบง่าย ๆ
ข้อจำกัดของ LINE Notify คือ สามารถส่งแจ้งเตือนได้เฉพาะผู้ที่ขอใช้ หรือกลุ่มที่ผู้ขอใช้เป็นสมาชิกเท่านั้น ไม่สามารถส่งข้อความเข้าห้องสนทนาของเพื่อน ๆ ได้ หากต้องการให้สามารถส่งข้อความหาใครก็ได้ ท่านต้องใช้ LINE Bot API แทน
เพิ่ม LINE Notify เป็นเพื่อน
ก่อนที่จะใช้งาน API และส่งการแจ้งเตือน ท่านต้องเพิ่ม LINE Notify เป็นเพื่อนก่อน โดยสแกน QR Code ด้านล่างนี้
การขอ Access Token
ในการใช้งาน API ในทุก ๆ บริการ จะมีสิ่งที่เรียกว่า Access Token ไว้สำหรับเป็นรหัสที่ใช้ตอนจะเข้าใช้งาน API โดยรหัสนี้จะเป็นข้อความแทนอีเมล์ และพาสเวิคของเรา ดังนั้นหาก Access Token ถูกเปิดเผย เรายังสามารถใช้งานแอ๊กเค้าได้ปกติ (แต่หากรู้ตัวว่า Access Token ถูกเปิดเผย ควรยกเลิก แล้วขอ Access Token ใหม่ทันที)
เข้าไปที่หน้าเว็บ https://notify-bot.line.me/my/ จากนั้นระบบจะให้เราล็อกอินด้วยแอ๊คเค้า LINE โดยกรอกอีเมล์ และรหัสผ่านที่ได้ตั้งไว้ลงไป
เมื่อล็อกอินสำเร็จแล้ว ให้เลื่อนลงมาด้านล่าง จะพบ ออก Access Token (สำหรับผู้พัฒนา) ให้กดปุ่ม ออก Token
พอมาถึงส่วนนี้ให้เราทำความเข้าใจก่อนว่า เมื่อเราส่งข้อความไปแล้ว ข้อความที่ขึ้นจะปรากฏในรูปแบบ
[ชื่อ Token]: [ข้อความ]
ดังนั้นในช่องที่ 1 สามารถกรอกเป็นอะไรก็ได้ และสิ่งที่กรอกนั้นจะติดไปพร้อมกับข้อความเสมอ เช่น หากกรอกว่า ESP8266 เมื่อใช้ API ส่งข้อความว่า “สวัสดี” ข้อความจะขึ้นว่า “ESP8266:สวัสดี”
ในช่องที่ 2 จะให้เลือกว่าเราจะส่งข้อความเข้าไปในกลุ่มไหน หรือส่งให้ตัวเองเท่านั้น
เมื่อกรอกครบแล้ว ให้กดปุ่ม ออก Token
เมื่อกดปุ่มแล้ว จะปรากฏรหัส Token ให้ท่านเก็บรหัสนี้ไว้ให้ดีเพราะจะออกให้เพียงครั้งเดียว แต่หากลืม ท่านสามารถเริ่มต้นทำขั้นตอนใหม่เพื่อขอ Token ใหม่ได้
ส่วนใน LINE ก็จะมีการแจ้งเตือนว่าออก Access Token ใหม่แล้ว
แค่นี้เป็นอันจบขั้นตอนการขอ Access Token แล้ว ต่อเราจะมาเริ่มต่อวงจรกันครับ
ต่อวงจรสวิตซ์ให้ NodeMCU v1.0
ในบทความนี้จะเลือกใช้ NodeMCU เนื่องจากเป็นบอร์ดที่ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นส่วนใหญ่
ในการทดลอง จะใช้สวิตซ์ในการแทนเซ็นเซอร์อื่น ๆ เมื่อมีการกดสวิตซ์แล้ว จะมีการส่งแจ้งเตือนไปทาง LINE ท่านสามารถเปลี่ยนสวิตซ์เป็น PIR Sensor เพื่อตรวจจับผู้บุกรุกได้ หรือเปลี่ยนเป็นสวิตซ์แม่เหล็กติดกับประตูเพื่อแจ้งเตือนมีการเปิดประตูได้
Coding
ในโค้ดด้านล่างนี้ ท่านสามารถคัดลอกไปวางในโปรแกรม Arduino IDE ได้เลย แล้วแก้ไข , ให้เป็นค่าที่ถูกต้อง ส่วน
ให้นำ Access Token จากในขั้นตอนที่แล้วมาวาง
จากนั้นอัพโหลดลง NodeMCU ไปได้เลย
การทดสอบ
หลังจาก ESP8266 เชื่อมต่อ WiFi ได้แล้ว ทดลองกดสวิตซ์ จะมีข้อความว่า “โดนกด” มาปรากฏในห้องแชทของ LINE Notify เป็นอันจบการทดสอบ
การแก้ไขข้อความที่ส่ง
ท่านสามารถแก้ไขข้อความได้โดยแก้ไขคำในตัวแปร message ในบรรทัดที่ 12 ได้เลย
แต่เนื่องจากไมโครคอนโทรลเลอร์ไม่รองรับ UTF-8 ทำให้ไม่รองรับการพิมพ์ภาษาไทยลงไปตรง ๆ หากต้องการส่งข้อความที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เป็นข้อความภาษาไทย ข้อความยาวหลายบรรทัด มีการเว้นวรรค มีอักษรพิเศษ จะต้องแปลงข้อความให้อยู่ในรูปที่เรียกว่า URL Encode ก่อน โดยใช้บริการเว็บ http://meyerweb.com/eric/tools/dencoder/ เมื่อเข้าไปในเว็บ ให้พิมพ์ข้อความที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม Encode ก็จะปรากฏข้อความที่ถูกแปลงแล้วออกมา ท่านสามารถนำข้อความที่ถูกแปลงแล้วไปใส่ในตัวแปร message ได้เลย
ขอบคุณที่อ่านมาจนจบนะครับ ในโอกาศหน้าผมจะนำบทความอะไรมาลงอีก สามารถติดตามได้ที่เว็บของ IOXhop หรือที่เพจ IOXhop ได้ครับ และสุดท้ายหวังว่าเราจะก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 ไปพร้อม ๆ กันนะครับ